หน่วยที่ 5 การปรับปรุงบัญชีและกระดาษทำการ


การปรับปรุงบัญชี และกระดาษทำการ

สาระประจำหน่วย
   เนื่องจากรายการบันทึกบัญชีระหว่างงวดอาจมีรายการเป็นช่วงระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับปีถัดไป หรือบางรายการไม่มีการบันทึกบัญชีในงวดบัญชีนั้นๆนักบัญชีจึงต้องมีการปรับปรุงรายการก่อนนำตัวเลขไปจัดทำรายงานทางการบัญชี การจัดกระดาษทำการงบทดลองหลังรายการปรับปรุงจึงเป็นการสรุปยอดคงเหลือบัญชีต่างๆ เมื้อสิ้นขอบระยะเวลาหนึ่ง เป็นการพิสูจน์ยอดความถูกต้องของการบันทึกบัญชี ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Excel ช่วยในการคำนวณได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

5.1 รายการปรับปรุง
รายการปรับปรุง (Adjusting Entry)  หมายถึง  การบันทึกรายการ เพื่อแก้ไขการปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการให้มีความถูกต้องตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ในการสิ้นสุดงวดบัญชีเนื่องจากทางการปฏิบัติการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินจริง การปรับปรุงรายการต่างๆทำให้ผลการดำเนินงานของกิจการมีความถูกต้องกับความเป็นจริง และส่งผลกับสินทรัพย์ หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการด้วย ประเภทการปรับปรุงได้แก่
5.1.1 รายได้รับล่วงหน้า   (Deferred Revenue)
         เป็นรายได้ที่กิจการได้รับเงินในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่มีรายรับบางส่วนเป็นกิจการรายได้ของงวดบัญชี ถัดไป จึงจะเป็นหนี้สินที่กิจการมีภาระในการบริการ วิธีการบันทึกบัญชีเมื่อรับเงินเป็นเป็นรายได้รับล่วงหน้า มี 2 วิธีได้แก่
วิธีที่ 1 บันทึกการรับเงินเป็นหนี้สินทั้งจำนวนเงินในบัญชีรายได้รับล่วงหน้า
วิธีที่ 2 บันทึกการรับเงินเป็นรายได้ทั้งจำนวนเงินในบัญชีรายได้
ตัวอย่างที่ 5.1


5.1.2 รายได้ค้างรับ (Accrued  Revenue)

รายได้ค้างรับ  คือ รายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน  แต่ยังไม่ได้รับเงิน  ซึ่งกิจการจะได้รับในงวดบัญชีต่อไป  ดังนั้นจึงถือรายได้ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสินทรัพย์ของกิจการในงวดบัญชีปัจจุบัน  โดยกิจการจะทำการปรับปรุงรายการกำหนดเป็นทรัพย์สินของกิจการ

5.1.3 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ( Prepaid  Expenses )
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า  คือ ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินออกไปในงวดบัญชีปัจจุบัน  แต่ได้รวมค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปีหน้าส่วนหนึ่งไว้ด้วย  ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในงวดบัญชีปีหน้า  โดยกิจการจะทำการปรับปรุงรายการนี้ ณ วันสิ้นงวด ( Prepaid  Expenses )
  ตัวอย่าง 5.3  เมื่อวันที่ 1สิงหาคม กิจการค่าเช่าโฆษณา 9,000 สำหรับระยะเวลา 6 เดือน
วิธีที่ 1 บันทึกการจ่ายเงินเป็นสินทรัพย์ทั้งจำนวน ในบัญชีค่า ใช้จ่ายล่วงหน้า
สมุดรายวันทั่วไป
 พ.. 2556
รายการ
เลขที่
บัญชี
 เดบิต
 เครดิต
เดือน
วันที่
 ส..
 1
 ค่าโฆษณาล่วงหน้า
       เงินสด
ค่าใช้จ่ายโฆษณาระยะเวลา6 เดือน
109
101
9,000
-


9,000


-

 5.1.4 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย  คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน  แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ซึ่งกิจการจะจ่ายในงวดบัญชีต่อไป  ดังนั้นจึงถือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้เป็นหนี้สินของกิจการในงวดบัญชีปัจจุบัน  โดยกิจการจะทำการปรับปรุงรายการนี้
ตัวอย่าง  1.
            กิจการได้รับบิลค่าโฆษณาจากบริษัท สื่อโฆษณา  สำหรับเดือน ธันวาคม  จำนวน  10,000 บาท  กิจการยังไม่ได้จ่าย   ดังนั้น ณ วันสิ้นงวด กิจการต้องบันทึกรายการปรับปรุงโดย
..
รายการ
เลขที่
บัญชี
 เดบิต
 เครดิต
ธ ค
31
ดอกเบี้ยจ่าย
ดอกเบี้ยค้างจ่าย
ปรับปรุงดอกเบี้ยค้างจ่าย 3 เดือน
12,000X 12/100X 3/12
501
202

360










360


5.1.5 ค่าเสื่อมราคา ( Depreciation )
ค่าเสื่อมราคา  คือ ค่าใช้จ่ายที่ตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ ที่กิจการใช้ประโยชน์ประจำงวดทั้งนี้เพราะสินทรัพย์ประเภทอาคาร  อุปกรณ์  เครื่องจักร  รถยนต์  เป็นสินทรัพย์ที่มีไว้ใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานและมักจะมีมูลค่าสูง  จึงมีการประมาณประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านี้เฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละงวด งวด  โดยการคำนวณค่าเสื่อมราคามีหลายวิธีในที่นี้กล่าวถึงการคำนวณด้วยวิธีเส้นตรง (Straight Ling Method)

   ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน-ราคาซาก)
                          อายุการใช้งาน

 ตัวอย่าง 5.5 กิจการชื้อเครื่องตกเเต่งราคา 62,000 บาท เมื่อวันที่ 1  มีนาคม 2556 คาดว่าใช้งานได้ 10 ปี ประมาณราคาซาก 2,000 บาท  แสดงการคำนวณค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคาปี 2556 1  มีนาคม -30 ธันวาคม 2556
  =(62,0000-2,000) * 10 = 5,000 บาท
              10          12




5.1.6 วัสดุสำนักงานที่ใช้ไป  ( Supplies  Used  Expense )
          วัสดุสิ้นเปลือง  เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีลักษณะใช้แล้วหมดไป  และมีมูลค่าต่อหน่วยต่ำ  เช่น  กระดาษ  ปากกา  ยางลบ  ลวดเสียบ  โดยจะเรียกวัสดุเหล่านี้ตามลักษณะการใช้งาน  เช่น  วัสดุสำนักงาน  ในการจัดหาวัสดุสิ้นเปลืองมาใช้มักจะซื้อปริมาณมาก และมีการควบคุมโดยใช้หลักฐานการเบิกจ่าย  และ ณ วันสิ้นงวดจะมีการตรวจนับวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ  เพื่อจะได้ทราบว่าได้ใช้วัสดุสิ้นเปลืองเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อคำนวณหาวัสดุสำนักงานใช้ไปกับบันทึกค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีปัจจุบัน

วิธีการคำนวณวัสดุสำนักงานใช้ไป
วัสดุสำนักงานใช้ไป= วัสดุสำนักงานต้นงวด+ วัสดุสำนักงานระหว่างงวด-วัสดุสำนักงานสิ้นงวด
                        =3,500 + 15,000 - 2,400
                       =13,600 บาท












บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม  2556
                                   สมุดรายวันทั่วไป

 พ.. 2556
รายการ
เลขที่
บัญชี
  เดบิต
   เครดิต
เดือน
วันที่
 ธ..
 31
วัสดุสำนักงานใช้ไป

   วัสดุสำนักงาน

ปรับปรุงวัสดุสำนักงานใช้ไป
511
111
13,600
-






13,600


-

5.1.7 ค่าเผื่อหนี้จะสูญหาย ( Doubtful  Accounts )
ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทให้บริการ หรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จะมีลูกหนี้จำนวนหนึ่งที่กิจการไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ซึ่งกิจการได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว จึงตัดออกจากบัญชีลูกหนี้  ถือเป็นบัญชีปรับมูลค่า โดยหักออกบัญชีลูกหนี้ การประมาณการหนี้ที่จะเก็บเงินไม่ได้มี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1  ประมาณต้องการอัตราร้อยละของยอดขายในงวดนั้น
วิธีที่ 2  ประมาณต้องการอัตราร้อยละของยอดลูกหนี้คงเหลือในวันสิ้นงวด

ตัวอย่างที่ 5.7  วันที่ 1 มกราคม กิจการมีค่าเผือบัญชีหนี้สงสัยจะสูญ 3,000 บาท  และวันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีบัญชีลูกหนี้คงเหลือ 80,000  และบัญชีขายสินค้า 150,000 บาท
วิธีการคำนวณตั่งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
วิธีที่ 1  ประมาณอัตราร้อยละของยอดขายในงวดนั้น
 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ = 15,000      1        =1,500 บาท
                                              100
บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม  2556
                                       สมุดรายวันทั่วไป

 พ.. 2556
รายการ
เลขที่
บัญชี
 เดบิต
 เครดิต
เดือน
วันที่
 ธ..
 31
 หนี้สงสัยจะสูญ

   ค่าเผื่อหนี้จะสูญหาย

ตั้งค่าเผื่อหนี้จะสูญ1% ยอดขาย
512

112
15,000
-





15,000


-

                                              
วิธีที่ 2 ประมาณการเป็นอัตราร้อยละของลูกหนี้ คงเหลือในวันสิ้นงวด
 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                =80,000 *   =4,000 บาท
หักค่าหนี้สงสัยจะสูญยกยอดมา                                             =3,000 บาท
ดังนั้น ตั้งค่าหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น                                         =1,000 บาท


 บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม  2556
                                         สมุดรายวันทั่วไป
 พ.. 2556
รายการ
เลขที่
บัญชี
 เดบิต
 เครดิต
เดือน
วันที่
 ธ..
 31
 หนี้สงสัยจะสูญ

   ค่าเผื่อหนี้จะสูญหาย
ตั้งค่าเผื่อหนี้จะสูญ1% ยอดขาย
512
112
1,000
-







   1,000


-

1)การตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญ

  กรณีที่กิจการไม่ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  เมื่อไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ได้จึงตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญ
ตัวอย่างที่ 5.8 กิจการลูกนี้ที่ค้างชำระ และมีการติดตามทวงถาม เมือวันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 กิจการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญจำนวน 2,000 บาท หลังจากได้รับการทวงถามจนถึงที่สุด จึงตัดเป็นหนี้สูญ ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี
 บันทึกรายการปรับปรุงในวันที่ 31 ธันวาคม  2556
                                            สมุดรายวันทั่วไป

 พ.. 2556
รายการ
เลขที่
บัญชี
 เดบิต
 เครดิต
เดือน
วันที่
 ธ..
 31
 หนี้สูญ

   ลูกหนี้การค้า

ตัดลูกหนี้เรียกเก็บเงินไม่ได้เป็นสูญ
513
112
2,000
-




2,000


-


5.2 งบทดลองหลังรายการปรับปรุง
  หลังจากบันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไปที่เกี่ยวข้องแล้ว บัญชีที่มีผลกระทบจากรายการปรับปรุงจะมียอดคงเหลือที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นการรวบรวมยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภททุกบัญชีหลังรายการปรับปรุง จึงมีการจัดทำงบทดลองขึ้นอีกครั้งซึ่งเรียกว่า "งบทดลองหลังรายการปรับปรุง" (Adjusted Trial Balance) โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องว่ายอดรวมทางด้านเดบิตยังเท่ากับยอดรวมทางด้านเครดิตภายหลังการปรับปรุงบัญชีแล้ว โดยรูปแบบของงบทดลองหลังปรับปรุงยังคงมีรูปแบบเหมือนงบทดลองก่อนรายการปรับปรุงแตกต่างเฉพาะชื่อหัวงบเท่านั้น
  

รายการที่ 1 ค่าโฆษณาสำหรับระระเวลา 6  เดือน เริ่ม 1สิงหาคม 2556
ปรับปรุงค่าโฆษณาล่วงหน้า 1 เดือน  (ม..) =9000*1/6


รายการที่ 2  รายได้ค่าเช่าอาคารสัญญา 1  ปี เริ่ม 1 ตุลาคม  2556
ปรับปรุงรายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า  9 เดือน (ม.. –.ย) =120,000*9/12
                                     


รายการที่ 3 ค่าน้ำจำนวน 450 ค่าน้ำจำนวน  1,100 บาท   ค้างจ่ายของเดือน ธันวาคม 2556
                       

รายการที่ 4 ค่าเสื่อมราคาอาคารมีคาราคาซาก 100,000 บาท อายุการใช้งาน 10 ปี
อ้างอิงอัตราตารางในการใช้ฟังก์ชั่นการคำนวณค่าเสื่อมราคา =SLN (B4,C4,D4)
บันทึกค่าเสื่อมราคาโดยอ้างอิงจากชีตตารางการคำนวณค่าเสื่อมราคา = ค่าเสื่อมราคา =! E4


รายการที่ 5  คิดค่าเสื่อ ราคาอุปกรณ์สำนักงานราคาซาก 2,000 บาท อายุการใช้งาน 10 ปี
โดยบันทึกค่าเสื่อมโดยการอ้างอิงจากชีตตารางคำนวณค่าเสื่อมราคา =ค่าเสื่อมราคา !E3


รายการที่ 6 วัสดุสำนักงานคงเหลือ 800 บาท
ปรับปรุงวัสดุสำนักงานที่ใช้ไป = วัสดุสำนักงานต้นงวด วัสดุสำนักงานคงเหลือ
=5,000 - 800


5.3  กระดาษทำการ
   กระดาษทำการ (Work Sheet or Working Papers) หมายถึง แบบฟอร์มหรือกระดาษร่างที่กิจการจัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วย ให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปอย่างสะดวก  รวดเร็ว และ ไม่ผิดพลาด แต่กรณีที่เป็นกิจการขนาดเล็กและมีรายการไม่มากนักอาจไม่จำเป็น ต้องจัดทำกระดาษทำการก่อนทำงบการเงินก็ได้   โดยกระดาษทำการช่วยมีการรวมรวมข้อมูล เพื่อจัดทำงบการเงินต่อไป
5.3.1 รูปแบบกระดาษทำการ
กระดาษทำการที่จัดมีช่องรายการสำคัญชื่อบัญชี ช่องจำนวนเงินด้านเดบิตและเครดิตสำหรับงบทดลอง รายการปรับปรุง งบทดลองหลังรายการปรับปรุง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน โดยทั่วไปกระดาษทำการมี 3 รูปแบบ ได้แก่
 1 กระดาษทำการ 6 ช่อง



2 กระดาษทำการ 8 ช่อง
                
3 กระดาษทำการ 10 ช่อง



 ขั้นตอนจัดทำกระดาษทำการ
 5.3.2 ขั้นตอนจัดทำกระดาษทำการ มีดังนี้
 กระดาษทำการ 6 ช่อง ของธุรกิจกิจการ
 เปิดสมุดงาน ชื่อ Form1 และเพิ่มแผนงานชื่อกระดาษทำการ
จัดเก็บสมุดงานชื่อใหม่ Worksheet
1 เขียนหัวกระดาษทำการ  โดยเริ่มที่ชื่อของกิจการ  บรรทัดถัดมาบอกเป็นกระดาษทำการ และบรรทัดสุดท้ายให้บอกเป็นระยะเวลางวดที่เราจัดทำ เช่น  งวด 3  เดือน  6  เดือน  หรือปี  และสิ้นสุดในการดำเนินงานวันที่เท่าใด
2 ลอกงบทดลองลงในกระดาษทำการ โดยเริ่มตั้งแต่การเขียนชื่อบัญชี  เลขที่บัญชี  และจำนวนเงินลงในช่องที่กำหนด  เดบิต หรือ เครดิต ตามหมวดบัญชี  ซึ่งต้องเรียงลำดับหมวดบัญชีจากหมวด 1หมวด 5   แล้วรวมยอด ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้ง 2  ด้าน
3 นำรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ลงจำนวนเงินในช่องรายการปรับปรุง  โดยหาชื่อบัญชีจากงบทดลอง ในกรณีไม่มีชื่อบัญชีที่ต้องการให้เติมชื่อบัญชีต่อจากบรรทัดรวมเงินของงบทดลอง  ซึ่งจำนวนเงินที่ปรากฏในช่องปรับปรุงจะต้องมีหมายเลขกำกับเป็นคู่ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ  เมื่อนำมาครบทุกรายการให้รวมเงินในช่องปรับปรุง ยอดรวม 2  ด้านต้องเท่ากัน
4 นำตัวเลขหมวดบัญชีสินทรัพย์  หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของ  ไปไว้ในงบดุลให้ตรงกับด้านที่ปรากฏในงบทดลอง หรือในรายการปรับปรุง  หากมีบัญชีในงบทดลอง และในรายการปรับปรุงด้วยและปรากฏอยู่ด้านเดียวกันให้นำมาบวกกัน แต่หากอยู่คนละด้านให้นำมาหักกันแล้วจึงจะนำไปไว้ในงบดุล  (ยกเว้นสินค้าคงเหลือต้นงวด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย จึงต้องนำไปไว้ในช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน)
5 นำตัวเลขหมวดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายรวมทั้งสินค้าคงเหลือต้นงวดไปไว้ในงบกำไรขาดทุน (ใช้วิธีเดียวกันกับขั้นที่ 4)
6 ให้รวมยอดในงบกำไรขาดทุนและงบดุล  ซึ่งยอดจะไม่เท่ากันเพราะจะเกิดผลกำไร หรือขาดทุนนั้นเอง
7 ดูผลต่างในงบกำไรขาดทุน  โดยให้ใส่ยอดผลต่างในด้านที่น้อยกว่า  เช่น  ยอดด้านเดบิตมีผลรวมน้อยกว่า ให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเดบิต(D14) และเขียนคำอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่ากำไรสุทธิ  และหากยอดด้านเครดิตมีผลรวมน้อยกว่าให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเครดิต(F14)และให้เขียนอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่า ขาดทุนสุทธิโดยใช้สูตร =Sum(E14:E17)
8 รวมยอดทั้งสองด้านอีกครั้ง ทั้งในงบกำไรขาดทุน และงบดุล  ซึ่งคราวนี้ยอดรวมต้องเท่ากัน
9 พิมพ์คำว่าขาดทุนสุทธิ ในช่องชื่อบัญชี
10 หาปผลรวมงบกำไรขาดทุนเเละงบเเสดงฐานะการเงิน

2.) กระดาษทำการ 6ช่อง ของธุรกิจซื้อขายสินค้า
1. เปิดสมุดงาน ชื่อ Form1 และเพิ่มแผนงานชื่อกระดาษทำการ
2.จัดเก็บสมุดงานชื่อใหม่ Worksheet
3.พิมพ์หัวงบ ชื่อกิจการ กระดาษทำการระยะเวลา
4.คัดลอกชื่อบัญชี เลขที่บัญชีและจำนวนเงินเดบิตและเครดิตในงบทดลอง
นำจำนวนเงินบัญชีหมวดสินทรัพย์
5.นำจำนวนเงินหมวดสินทรัพย์ และหนี้สินเป็นส่วนของเจ้าของ ใส่ในช่องงบแสดงการเงิน (งบดุล) ตามด้วยที่ปรากฏในงบทดลอง เช่นบัญชีเงินสด โดยนำเมาส์มาว่างในช่องงบแสดงฐานะการเงินด้านเดบิต (G6)หรือเครดิต ให้ใส่เครื่องหมายเท่ากับ = แล้วคลิกที่งบช่องเดบิต (C6) หรือเครดิตแล้วกด Enter ยกเว้นบัญชีสินค้าคงเหลือ (ต้นงวด) ยอดจะปรากฏงบช่องกำไรขาดทุนด้านเดบิต
6.จำนวนเงินบัญชีหมวดรายได้ ละค่าใช้จ่ายใส่ช่องงบกำไรขาดทุนตามด้านที่ปรากฏในงบทดลอง โดยนำเมาส์มาวางไว้ที่ช่องงบกำไรขาดทุน ด้านเดบิต หรือเครดิต เช่นบัญชีขายสินคา (F18) ใส่เครื่องหมายเท่า = แล้วคลิกงบทดลองด้านเครดิต  (D18) แล้วกด Enter
7.พิมพ์สินค้าคงเหลือ (ปลายงวด) ช่องชื่อบัญชี ใส่จำนวนเงินในช่องงบกำไรขาดทุนด้านเครดิต (F29) แล้วนำเมาส์ไปว่างที่ช่องแสดงงบฐานะการเงินด้านเดบิต (G29) ใส่เครื่องหมาย =  แล้วคลิกที่เซลล์ F29  แล้วกด Enter
8.รวมยอดที่ช่องเดบิตและเครดิต ของงบกำไรขาดทุนละงบแสดงฐานะการเงิน โดยเริ่มที่ช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน  ใช้สูตร Sum (E18:E29) ลงที่ช่องที่เหลือวิธีเดียวกัน
9.หายอดผลต่างระหว่างช่องเดบิตและเครดิตของกำไรขาดทุน โดยว่างเมาส์ที่เซลล์ F13 .ใช้สูตร =E30-F30  ส่วนงบแสดงฐานะการเงิน ให้นำเมาส์มาวางที่เซลล์ G31  และใช้อ้างอิงเซลล์ =F31 ผลต่างที่ได้คือ ขาดทุนสุทธิ และรวมยอดที่เท่ากันทั้งสองด้าน (ถ้าช่องเดบิตของกำไรขาดทุน>ช่องเครดิตคือ ขาดทุนสุทธิ)
10.พิมพ์คำว่ากำไรขาดทุนสุทธิ ในช่องชื่อบัญชี
11.หาผลวมของงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน ดังภาพ

2.) กระดาษทำการ 8 ช่องของธุรกิจซื้อขายสินค้า
1. ทำเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1-7 ในการจัดทำกระดาษทำการ 6 ช่อง
2. พิมพ์ชื่อบัญชีที่ปรับปรุงเพิ่มหากไม่ปรากฏบัญชีนั้นในงบทดลองต่อจากสินค้าคงเหลือ ( ปลายงวด )
3. จำนวนเงินที่ปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป ใส่ช่องรายการปรับปรุงโดยนำเมาส์มาวางไว้ที่ช่องรายการปรับปรุงด้านเดบิต (E30) หรือเครดิต ใส่เครื่องหมาย = แล้วคลิกที่สมุดรายงานวันทั่วไป (F4) หรือเครดิต แล้วกด Enter จนครบทุกบัญชี
4. ยอดรวมที่ช่องเดบิตและเครดิตของรายการปรับปรุง งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินโดยเริ่มที่ช่องเดบิตของรายการปรับปรุง ใช้สูตร =Sum(G18:G36) ช่องที่เหลือใช้วิธีการเดียวกัน
5. หาผลต่างระหว่างช่องเดบิตและเครดิตของงบกำไรขาดทุน โดยวางเมาส์ที่เซลล์ G37 โดยใช้สูตร =H36-G36 ส่วนงบแสดงฐานการเงิน วางเมาส์ที่เซลล์ J37 และใช้อ้างอิงเซลล์ =G37 ผลต่างที่ได้คือ กำไรสุทธิ และรวมบอดให้เท่ากันทั้งสองด้าน
6. พิมพ์คำว่า กำไรสุทธิ ในช่องชื่อบัญชี
7. หาผลรวมทั้งงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน ดังภาพที่ 5.3

5.4ประโยชน์ของกระดาษทำการ
เนื่องจากการจัดทำบัญชีมีหลายขั้นตอนจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลา นักบัญชีจึงใช้กระดาษทำการเป็นเครื่องมือเพื่อสรุปงบทดลองก่อนรายการปรับปรุง รายการปรับปรุงงบทดลองหลังรายการปรับปรุง งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน ดังนั้นประโยชน์ของกระดาษทำการ มีดังนี้
1. ใช้สรุปรายการปรับปรุง ณ วันสิ้นงวดระยะเวลาบัญชี
2. ใช้เป็นกระดาษว่างทำให้เกิดความสะดวกและประหยัดในการจัดทำงบการเงินของกิจการ ที่ช่วยจำแนกตัวเลขไว้ในช่องงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน  (งบดุล)
3. ทำให้ทราบผลการดำเนินงานสำหรับรอบระยะเวลาหนึ่ง ว่ามีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด

4. ทำให้ทราบฐานะการเงินของกิจการว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าใด



ไม่มีความคิดเห็น: