หน่วยที่ 6 การปิดบัญชีและออกรายงานการเงิน



 การเปิดบัญชี และ ออกรายงานงบการเงิน


  สาระสำคัญประจำหน่วย
          การเปิดบัญชีขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่กิจการจะจัดทำงบการเงิน ในการบันทึกรายการเปิดบันชีเป็นการสรุปผลการดำเนินการ จากยอดรวมของบัญชีรายได้ค่าใช้จ่าย และแสดงฐานะการเงินจากบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เมื่อสิ้นรอบบัญชีหรืองวดบัญชีโดยกิจการสามารถจัดทำงบการเงินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่กิจการกำหนด เช่น 1 เดือน  3 เดือน 6 เดือน การจัดทำงบการเงินสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางหน้าจอก่อนพิมพ์ โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ กำหนดรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวกระดาษหรือท้ากระดาษ  เลขหน้า ขนาดกระดาษให้เหมาะสมกับข้อมูล  เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดก่อนการพิมพ์ ทำให้ไม่สิ้นเปลือง เป็นการประหยัดในการใช้ทรัพย์ยากรที่ดี

 6.1 การบันทึกรายการเปิดบัญชี
 การบันทึกรายการเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป และผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนปิดบัญชีของธุรกิจบริการและกิจการซื้อขายสินค้ามีลักษณะที่คล้ายกัน  เพียงแต่ธุรกิจซื้อขายสินค้าจะต้องบันทึกรายการปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนสินค้าที่ขาย
 (Cost Goods Sold) เมื่อเปิดบัญชีแล้วบัญชีประเภทรายได้ ค่าใช้จ่าย และบัญชีกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว ณ วันสิ้นสุดงวดบัญชีที่ถูกปิดไม่เหลือยอดอยู่ในบัญชี

 6.1.1  ขั้นตอนบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
     การเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปของกิจการและธุรกิจ ซื้อขาย มีลำดับขั้นตอนการเปิดบัญชี ดังนี้

ขั้น
ธุรกิจบริการ
ขั้น
ธุรกิจซื้อขายสินค้า
  1
เปิดบัญชีรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

เดบิตรายได้             XX
          เครดิต กำไรขาดทุน          XX                
 1
บันทึกสินค้าคงเหลือ(ต้นงวด) และเปิดบัญชี
เกี่ยวข้องกับต้นทุนขายด้านเดบิต
เดบิต  ต้นทุน                         XX
       เครดิตสินค้าคงเหลือ(ต้นงวด)       XX
                    ซื้อสินค้า                 XX
                    ค่าขนส่งเข้า              XX     


 2
บันทึกรายการสินค้าคงเหลือ ปลายงวด ปิด
เกี่ยวข้องกับต้นทุนขายด้านเครดิต
เดบิต สินค้าคงเหลือ (ปลายงวด)        XX
        ส่งสินค้า                            XX
        ส่วนลดรับ                          XX
        เครดิต ต้นทุนขาย                    XX       
 2
เปิดบัญชีค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต กำไรขาดทุน                   XX
          เครดิต  ค่าใช่จ่ายต่างๆ         XX

 3
ปิดบัญชีรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต  กำไรขาดทุน              XX
          รายได้อื่น            XX
              เครดิตกำไรขาดทุน          XX                                            
 3
ปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีกำไรสะสม
(กรณีกำไรสุทธิ)
เดบิตกำไรขาดทุน                  XX
     เครดิตทุน  (หรือกกำไรสะสม)      XX
(กรณีขาดทุนสุทธิ)
เดบิต ทุน (หรือกำไรสะสม)      XX
         เครดิต กำไรขาดทุน                XX

 4
เปิดบัญชีค่าใช้จ่ายและต้นทุนขาย (ผลต่าง)
เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต ขายสินค้า                       XX
         เครดิตต้นทุนขาย                    XX
         รับคืนสินค้า                         XX
          ส่วนลดรายจ่าย                    XX
          ค่าใช่จ่ายต่างๆ                     XX
 4
ปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
(เจ้าของกิจการคนเดียว)
เดบิต ทุน                      XX
  เครดิต  ถอนใช้ส่วนตัว               XX                    
 5
เดบิต   กำไรขาดทุน           XX
เครดิต กำไรสะสม                           XX
(กรณีขาดทุนสุทธิ)
เดบิต กำไร สะสม               XX
เครดิต  กำไรขาดทุน                       XX

 จากตัวอย่างจากตัวอย่าง งบทดลองของร้านกิจไพศาล (หน่วยที่ 4 หน้า
ขั้นตอนในการปิดบัญชี ในสมุดรายวันทั่วไป มีดังนี้
1. เปิดสมุดงานชื่อ  Form2  และเพิ่มแผนงานชื่อ การเปิดบัญชี”
2. จัดเก็บสมุดงานใหม่ชื่อ Closing
3. บันทึกลงในการปิดบัญชีมี 5  ขั้นตอน

ขั้นตอนที่  1   เปิดบัญชีสินค้าคงเหลือ (ต้นงวด)  และบัญชีเกี่ยวข้องกับต้นทุนขายด้านเดบิต




ขั้นตอนที่  2  บันทึกสินค้าคงเหลือ (ปลายงวด) จำนวน  38,000 บาท และ ปิดบัญชีเกี่ยวข้องกับต้นทุนด้านเครดิต



ขั้นตอนที่  3  ปิดบัญชีรายได้จากการขายสินค้าเข้าบัญชีกำไรขาดทุน

ขั้นตอนที่  4  ปิดบัญชีค่าใช่จ่ายต่างๆ  และต้นทุนขาย (ผลต่าง) เข้าบัญชีกำไรขาดทุน


ขั้นตอนที่  5  ปิดกำไรขาดทุนสุทธิเข้าบัญชีทุน


6.1.2 ขั้นตอนการเปิดบัญชีแยกประเภท
      เมื่อกิจการได้บันทึกปิดรายการได้และค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันทั่วไปแล้ว จะต้องผ่านรายการบัญชีแยกประเภททั่วไปทุกรายการ ซึ่งในการผ่านรายการบัญชีไปแยกประเภททั่วไปนั้น ทำให้การอ้างอิงจาการจดบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป  (ข้ามชีต) โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการบันทึกบัญชีในหน่วยที่ 4  ดังนั้น บัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย  กำไรขาดทุน และถอนใช้ส่วนตัว (ถ้ามี)  ทุกบัญชีจะต้องรวมยอดด้านเดบิต เท่ากับด้านเครดิต  ดังภาพ 6.3
ขั้นตอนที่ 1  ปิดบัญชีสินค้าคงเหลือ (ต้นงวด) และบัญชีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนขายด้านเดบิต



ขั้นตอนที่ 2 บันทึกสินค้าคงเหลือ (ปลายงวด) และปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนขายด้านเครดิต
ขั้นตอนที่ 3  ปิดบัญชีรายได้จากการขายสินค้าเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
ขั้นตอนที่ 4  ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆ  และต้นทุนขาย (ผลต่าง) เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
ขั้นตอนที่ 5 ปิดบัญชชีกำไรขาดทุนสุทธิเข้าบัญชีทุน
 
 ส่วนบัญชีสินทรัพย์  หนี้สิน  สวนของเจ้าของ (ทุน) จะต้องหาผลต่างเพื่อแสดงยอดคงเหลือยกไปในงวดบัญชีถัดไป  และจะแสดงยอดคงเหลือออกมมา โดยสินทรัพย์มียอดคงเหลือ ด้านเดบิต หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ (ทุน) มียอดคงเหลือด้านเครดิต ขั้นตอนการปิดบัญชี  ดังภาพ 6.4

ขั้นตอนที่ 1  ผลต่างยอดคงเหลือให้ตัวเลขไปใส่ไว้ด้านตรงข้าง  แสดงเป็นยอดยกไปไว้วัน
               สิ้นเดือนหรือสิ้นปี  โดยนำเมาส์มาวางไว้ที่ช่องจำนวนเงินด้านเครดิต ( J7) ใส่เครื่องหมาย = คลิกที่เซลล์  C6 แล้ว Enter จะปรากฏตัวเลข 32,805.00


ขั้นตอนที่ 2   รวมยอดด้วยเดบิตและเครดิตให้เท่ากัน โดยนำเมาส์มาวางไวที่ช่องจำนวนเงินด้าน
                 เดบิต (E8) ใส่เครื่องหมาย =คลิกที่เซลล์ E6 แล้ว Enter  จะปรากฏตัวเลข
                 45,095.00 ส่วนด้านเครดิต (J8) ใช้สูตร =Sum(J6:J7) แล้ว  Enter หรือแดร็กเมาส์
                 แล้วคลิกที่ไอคอน   จะปรากฏตัวเลข 45,095.00
             

 6.2 การจัดทำงบการเงิน
 งบการเงินธุรกิจการซื้อขาย มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับธุรกิจบริการ เพื่อแสดงถึงผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของธุรกิจของการสิ้นสุดรอบบัญชีหรือสิ้นงวดบัญชี โดยจัดทำขึ้นอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง  งบการเงินประกอบด้วย  งบแสดงฐานะการเงิน  งบกำไรขาดทุน  งบแสดงการเลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ  งบกระแสเงินสด  และหมายเหตุการณ์ประกอบงบการเงิน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการจัดทำงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงินเท่านั้น

6.2.1  งบกำไรขาดทุน
 เป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่ง  อาจกำหนดไว้ 1เดือน 3  เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี เดือนแล้วแต่กิจการนั้นๆได้กำหนดไว้ถ้าหากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายก็จะเป็นกำไรแต่ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายก็จำกลายเป็นขาดทุนนั้นเอง  ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหาร  งบกำไรขาดทุนได้แก่  บัญชีรายได้และค่าใช่จ่าย  ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างธุรกิจบริการกับธุรกิจการซื้อขาย ได้แก่  บัญชีสินค้าคงเหลือและกำไรขั้นต้นที่คำนวณได้จากยอดขายกำไรสุทธิหักต้นทุนขายสามารถทำได้ 2 แบบคือ 

 1 ) งบกำไรขาดทุนขั้นเดียว  (Single –Steg   lncome Statement) เป็นการวัดผลการดำเนินการโดยนำรายได้ทุกรายการหักออกจากค่าใช้จ่ายทุกรายการ  เพื่อหากำไรหรือขาดทุนสุทธิ

2) งบกำไรขาดทุนแบบหลายขั้น  (Multiple-Step  lncome Statement ) เป็นการวัดการดำเนินจากรายได้หลัก เพื่อหากำไรข้างต้น โดยนำรายงานมาหักออกเป็นต้นทุนขายแล้วจึงนำหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  ผลต่างเป็นกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน และหักภาษีได้จะได้ผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิ ดังนั้น งบกำไรขาดทุนจึงต้องแสดงผลกำไรหลายขั้น ได้แก่ กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน กำไรสุทธิจากการหักภาษีเงินได้ และกำไรขาดทุนสุทธิ

 6.2.2 งบเเสดงฐานะการเงิน   (statement of financial position)
     งบแสดงฐานะการเงิน (statement of financial position) หมายถึง การรายงานทางการเงินที่ทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงให้เห็นฐานะการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวด   องค์ประกอบของงบแสดงฐานะการเงิน จึงเป็นรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ


6.3 การพิมพ์สมุดงานออกทางเครื่องพิมพ์
      เมื่อจัดทำแบบฟอร์มและพิมพ์หัวข้อมูลต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย ก่อนพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ควรมี การกำหนดพื้นที่ในการพิมพ์หรือดูตัวอย่างก่อนพิมพ์เพื่อให้ข้อมูลที่ต้องการมีความถูกต้องและสวยงาม
6.1.3 การตั้งค่าหน้ากระดาษ
    เป็นการจัดรูปแบบของข้อมูลที่ต้องการสั่งพิมพ์ เช่น ระยะขอบ ขนาดกระดาษ หัวกระดาษ ท้ายกระดาษ ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์และสวยงาม ซึ่งหากไม่ได้กำหนดพื้นที่ ก่อนพิมพ์งานโปรแกรมจักตัดทำการแบ่งแผ่นงานออกเป็นส่วนๆ เท่ากับของการตั้งค่ากระดาษที่ตั้งไว้ แล้วพิมพ์ออกมาให้ทั้งหมด ดังนั้น หากต้องการพิมพ์บางส่วนของแผนงาน จะต้องกำหนดพื้นที่ที่จะสั่งพิมพ์งาน  การตั้งค่าหน้ากระดาษ
ดังภาพ 6.9
1 คลิกเลือก Page Layout
2 เลือกปุ่ม  Size
3 เลือกขนาดกระดาษ A4
4 คลิกปุ่ม View (มุมมอง)
5 คลิกปุ่ม Page Layout เพื่อดูตัวอย่างก่อนพิมพ์

6 แสดงตัวอย่างข้อมูลการพิมพ์บนกระดาษ




นอกจากรายการเลือกระยะขอบ (Marins) ตามที่แบบ Excel ที่เตรีมไว้แล้วนั้น เรายังสามารถปรับขอลกระดาษได้อย่างอิสระ ดังภาพ 6.10
1 คลิกปุ่ม Margins (ระยะขอบ)
2 คลิกเลือก Custorm Margins (กำหนดขอบกระดาษ)
3 กำหนดระยะขอบกระดาษตามความต้องการทั้งด้าน Top (บน) Bottom (ล่าง) Left (ซ้าย) และ Right (ขวา)

4 คลิกปุ่ม (ตัวอย่างก่อนพิมพ์)




6.3.2 การกำหนดหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ
     แท็บเป็นหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ (Header/Footer) การกำหนดหัวกระดาษหรือข้อความหัวกระดาษและท้ายกระดาษ การกำหนดเลขหน้า ข้อความบางข้อความ เพื่อให้ปรากฏบนเอกสารทุกๆ หน้าได้โดยกำหนดไว้ที่แนวหัวกระดาษ เช่น ต้องการให้หัวกระดาษปรากฏ  การบัญชีกับคอมพิวเตอร์”  และเลขหน้า คลิกหัวกระดาษกำหนดเอง แล้วพิมพ์ในส่วนที่ต้องการ ดังภาพ 6.11
1 คลิกปุ่ม  Custom Header …. หรือ Custom Footer
2 เลือกส่วนที่จะพิมพ์ตามส่วนที่ต้องการ เช่น ต้องการใส่หัวกระดาษปรากฏคำว่า การบัญชีกับคออมพิวเตอร์”
3 หรือเลือกคำสั่งที่ Excel เตรียมไว้เพื่อเติมข้อมูลอื่นๆ เช่นรูปแบบตัวอักษร  เลขหน้า
วันที่ ชื่อไฟล์ ฯลฯ
4คลิกปุ่ม ok
  

6.3.3 การตั้งค่าหน้ากระดาษแผ่นงาน
ค่าหน้ากระดาษแผ่นงาน ประกอบด้วย แถบเครื่องมือพื้นที่พิมพ์  เพื่อกำหนดกลุ่มเซลล์ที่ต้องการพิมพ์ หัวข้อเรื่องที่จะพิมพ์ แถวที่จะพิมพ์ซ้ำด้านบน คอลัมน์ที่จะพิมพ์ซ้ำทางซ้าย เช่น หากต้องการให้ข้อมูลแถวที่ 1-5  เป็นหัวเรื่องให้ตัวเลือกแถวที่จะพิมพ์ซ้ำค้านบน (เซลล์$1:$5)  ดังภาพที่ 6.12
1 เลือกพื้นที่หัวข้อเรื่องที่ต้องการพิมพ์ซ้ำด้านบน
2 คลิกที่แท็บ Sheet  (แผ่นงาน)
3 คลิกเลือกที่ช่อง Rows to Repeat at top (แถวที่จะเพิ่มซ้ำด้านบน)
4 คลิกปุ่ม ok




6.3.4 การเรียกดูสุดก่อนพิมพ์งาน
เป็นการตรวจสอบงานก่อนพิมพ์งานออกกระดาษ โดยการทำการตรวจสอบงานทางหน้าจอก่อนผลลัพธ์ที่ได้จากหน้าจอจะเหมือนกับการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ หากผิดพลาดจะทำได้แก้ปัญหาได้ ดังนั้นการตรวจสอบงานก่อนการคำสั่งพิมพ์สามารถทำได้
ดังภาพที่ 6.13
 1 คลิกปุ่ม office Button
2 เลือกคำสั่ง Print (พิมพ์)
3 เลือก Preview (ตัวอย่างก่อนพิมพ์)




   หลังจากการตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์และการแบ่งหน้ากระดาษของแผนงาน หากมีข้อมูลจำนวนมาก และปรากฏว่าข้อมูลบางส่วนไม่อยู่ภายในหน้าเดียวกัน และใช้วิธีการย่อสัดส่วนลง เพื่อให้เห็นภาพ ของรายงานทั้งหมด เพื่อให้เห็นว่างานมีความถูกต้องและสวยงามจึงพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ เพื่อลดความสิ้นเปลืองของกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์อีกด้วย
6.3.5 การพิมพ์สมุดงานออกทางเครื่องพิมพ์
เมื่อกำหนดส่วนต่างๆ ของแผนงานและตรวจสอบความเรียบร้อย ต้องการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1) การพิมพ์สมุดงานบางส่วน กรณีนี้ก่อนจะสั่งพิมพ์ต้องลากเมาส์ให้คลุมเซลล์ที่ต้องการ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตของกระดาษที่ผู้ใช้ตั่งค่าไว้ ดังภาพที่ 6.14
1 คลุมเซลล์ที่ต้องการพิมพ์
2  คลิกปุ่ม office Button
3 คลิกคำสั่ง Print   Print
4 คลิกเลือกรุ่นเครื่องพิมพ์ (Printer Name) ที่ใช้งาน
5 เลือก Print What (สิ่งที่ต้องการพิมพ์) คลิกเลือก Selector (ส่วนเลือก)
6 กำหนดจำนวนสำเนา  (Nunmber of copies)
7 คลิกปุ่ม ok



    2.)การพิมพ์สมุดงานทั้งหน้า เมื่อต้องการใช้ตั้งหน้ากระดาษเรียบร้อยแล้ว  จะมองเห็นขออบเขต ของข้อมูลที่ปรากฏของแต่ละหน้า ผู้ใช้ต้องการสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ดังภาพ 6.15
1 คลิกปุ่ม office Button
2 คลิกคำสั่ง Print   Print
3 คลิกเลือกรุ่นเครื่องพิมพ์ (Printer Name) ที่ใช้งาน
4 เลือก Rrint Range (ช่วงที่ต้องการพิมพ์) คลิกเลือก Page Form (ระบุที่ต้องการพิมพ์)
5 กำหนดจำนวนสำเนา (Nameber of copies)
6 คลิกปุ่ม ok

ไม่มีความคิดเห็น: